Cosmos
Cosmos เป็นระบบนิเวศประเภทหนึ่งที่มี Blockchain หลายรูปแบบที่เชื่อมโยงกับ Blockchain อื่นด้วย Inter-Blockchain Communication Protocol
Cosmos คืออะไร?
- Cosmos เป็นเครือข่าย Blockchain แบบกระจายศูนย์ (Decentralized) และถูกเรียกว่า The Internet of Blockchains
- การได้รับโทเคน ATOM จะได้รับผ่านระบบอัลกอริทึม Proof-of-stake ประเภท Hybrid และโทเคน ATOM ยังเป็นเหรียญที่มีหน้าที่สำคัญในระบบ Governance บนเครือข่าย
- Cosmos Hub เป็น Blockchain หลักในการเชื่อมต่อกับ Blockchain ประเภทอื่นและทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของ Cosmos เพื่อให้บริการในส่วนของตลาด Marketplace, ความปลอดภัย, Router และการดูแลรักษาโทเคน
- Cosmos ใช้ Inter-Blockchain Communication Protocol (IBC) เพื่อเชื่อมโยงกับแอปพลิเคชั่นและการบริการข้าม Blockchain และยังอนุญาตให้ผู้ใช้งานสามารถแลกเปลี่ยนสินทรัพย์และข้อมูลได้
ตัวชี้วัดสำคัญ
ชื่อย่อ | ATOM |
ชื่อเต็ม | Cosmos |
ประเภท/โปรโตคอล | Cosmos |
อุปทานทั้งหมด | 280,885,293 |
อุปทานหมุนเวียนในปัจจุบัน | ดูที่ Coinmarketcap |
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด | ดูที่ Coinmarketcap |
วันที่สร้าง | ปี 2017 |
สามารถขุดได้หรือไม่? | ไม่ได้ |
ประวัติผู้ออก Cosmos
Jae Kwon, Zarko Milosevic และ Ethan Buchman เป็นผู้ก่อตั้งของ Cosmos และในปี 2020 Kwon ได้ลาออกจากตำแหน่งและต่อมา Peng Zhong ก็ดำรงตำแหน่ง CEO ของ Cosmos แทน หลังจากที่บริษัทมี CEO คนใหม่มา คณะกรรมการบริษัทจะเน้นประสบการณ์ของเหล่านักพัฒนาบนเครือข่ายมากขึ้นและมีวิสัยทัศน์ในการสร้างชุมชน Cosmos ให้มีความกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา
วัตถุประสงค์เหรียญ Cosmos
วัตถุประสงค์หลักของเหรียญ Cosmos คือ เพื่อบริการระบบนิเวศที่มีการเชื่อมต่อ Blockchian ทั้งหมดเพื่อที่จะแก้ปัญหาการขยายขนาดและการใช้งานของระบบการทำงานแบบ Proof-of-Work นอกจากนี้ Cosmos ยังต้องการที่จะลดความซับซ้อนของเทคโนโลยีสำหรับนักพัฒนาด้วย Framework ที่แยกส่วนกัน ทำให้ dApp มีความชัดเจนและเข้าใจง่ายมากขึ้น
ข้อมูลเชิงลึก
- Marketplace ของ Cosmos ถูกเซทไว้เพื่อดำเนินการใน Decentralized Exchange ประเภทใหม่ โดยแลกเปลี่ยน (Swap) สินทรัพย์ดิจิทัลแบบข้ามเชนด้วยค่าธรรมเนียมต่ำและอัตราการยืนยันธุรกรรมที่คงที่
- โทเคน ATOM ถูกใช้เพื่อรักษาความปลอดภัย Blockchain หลักบนศูนย์ซื้อขายเพื่อได้รับผลตอบแทนจากการ Staking
- ผู้ใช้งานสามารถเข้าร่วมเครือข่ายเพื่อเป็น Validator ด้วยการเชื่อมต่อกับ Cosmos Hub Service ผ่าน IBC Protocol
- Inter-Blockchain Communication Protocol สามารถโอนโทเคนข้ามเชนได้ ซึ่งจริง ๆ แล้วก่อนหน้านี้การโอนจะไม่สามารถโอนข้ามเชนได้
- Cosmos ใช้ประโยชน์จากโซลูชั่นการขยายขนาด (Scalability) 2 ประเภท คือ แบบ Vertical และ Horizontal การขยายขนาดแบบ Vertical สามารถรองรับการทำธุรกรรมได้หลายพันธุรกรรมต่อวินาที ในขณะที่การขยายขนาดแบบ Horizontal สามารถสร้างเชนคู่ขนาน (Parallel Chain) ได้หลายเชน จึงส่งผลให้ Blockchain สามารถรองรับขนาดได้ไม่จำกัด
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
- แม้ว่า Cosmos จะเป็นหนึ่งใน Protocol รุ่นแรก ๆ ที่มีเป้าหมายให้ Protocol สามารถทำงานร่วมกันได้ แต่ก็มีโปรเจกต์ใหม่มากมายที่มีเป้าหมายเดียวกันกับ Cosmos เช่น Harmony (ONE) หรือ Polkadot (DOT)
- เนื่องจากคริปโตมีการพัฒนา Cross-chain Bridge อาจจะส่งผลให้มีการลดมูลค่าของเชน Cosmos และ Cross-chain Oracle อาจจะช่วยให้ลดช่องว่างระหว่างการทำงานร่วมกันแบบข้ามเชน
ข่าวเกี่ยวกับ Cosmos
- IBC ของ Cosmos มีการเติบโตอย่างยั่งยืนตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2021 และเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ปี 2021 Cosmos ได้ทะลุเป้า คือ มีการโอนธุรกรรม 1 ล้านธุรกรรมใน Protocol
- Evmos ได้ปรับแบรนด์ใหม่จาก Ethermint ซึ่งจะเปิดตัวในระบบนิเวศ Cosmos ทำให้สามารถสื่อสารกับ Smart Contract ที่อยู่บน Ethereum ได้
คอมมูนิตี้ & Whitepaper ลิงก์:
Official Website: https://cosmos.network/
White Paper: https://github.com/cosmos/cosmos/blob/master/WHITEPAPER.md#the-hub-and-zones
คำเตือน
คริปโทเคอร์เรนซี และโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้