Polkadot

Polkadot เป็นโปรโตคอล Multichain แบบ Open Source ที่จะช่วยให้การรับส่งข้อมูล รวมไปถึงสินทรัพย์ที่ไม่ใช่คริปโตเคอเรนซี สามารถทำงานร่วมกันแบบ Cross Chain ได้

Polkadot คืออะไร?

  • Polkadot ดำเนินการด้วยโปรโตคอลแบบ Sharding Multichain ที่คิดค้นโดย Web3 Foundation และเป็นผู้นำ Parity Technologies มาใช้ร่วมกับระบบ ChainSafe
  • ด้วยการทำงานของโปรโตคอลดังกล่าว ส่งผลให้สามารถรับส่งข้อมูลและสินทรัพย์แบบ Cross Chain ได้ เช่น การโอน Bitcoin ไปยัง Blockchain ของ Ethereum ซึ่งเป็นปัญหาที่มักพบในการโอนคริปโต และได้รับการแก้ไขด้วยการใช้ Chain Bridge และ Wrapping บางส่วนเท่านั้น
  • ผู้ใช้งานสามารถควบคุมเว็บไซต์ในรูปแบบ Decentralized เต็มรูปแบบและมีความเป็นส่วนตัว รวมไปถึงการสร้างแอปพลิเคชัน องค์กร และบริการต่าง ๆ บน Polkadot ได้อย่างง่ายดาย
  • การเชื่อมต่อโปรโตคอลเข้ากับ Chain สาธารณะและเอกชน, เครือข่ายสาธารณะ, Oracle และเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ทำให้ Polkadot Blockchain สามารถทำงานได้อย่างเป็นอิสระ
  • โทเคน DOT ของ Polkadot มี 3 หน้าที่หลัก คือ ใช้สำหรับระบบ Governance ของเครือข่าย (เพื่อกำหนดทิศทางของ Blockchain), การ Stake (เพื่อดูแลความปลอดภัยและตรวจสอบเครือข่าย) และ Bonding (เพื่อสร้าง Parallel Chain โดยการล็อก DOT)

ตัวชี้วัดสำคัญ

ชื่อย่อDOT
ชื่อเต็มPolkadot
ประเภท/โปรโตคอลPolkadot Protocol
อุปทานทั้งหมด1,103,303,471 DOT
อุปทานหมุนเวียนในปัจจุบันดู Coinmarketcap
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดดู Coinmarketcap
วันที่สร้างปี 2016
สามารถขุดได้หรือไม่?ไม่ได้

ประวัติผู้ออก Polkadot

Polkadot ก่อตั้งโดย Dr. Gavin Wood, Robert Habermeier และ Peter Czaban ซึ่งเป็นทีมนักพัฒนาจาก Web3 Foundation

Wood ในฐานะประธานของ Web3 Foundation เคยมีประสบการณ์เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum และได้สร้างภาษาโปรแกรมสำหรับ Smart Contract ที่รู้จักกันในชื่อ Solidity ในขณะที่ Habermeier และ Czaban ผู้มากประสบการณ์ในด้าน Fintech ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา Distributed Technology แบบใหม่ด้วย

วัตถุประสงค์เหรียญ Polkadot

Polkadot เป็นเว็บไซต์ Decentralized ที่มีวัตถุประสงค์หลักในการอำนวยความสะดวกด้วยเว็บที่ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและใช้งานง่าย ในรูปแบบโปรเจกต์แบบ Open Source ยิ่งไปกว่านั้น ยังต้องการที่จะแก้ไขในเรื่องความสามารถในการขยายตัว (Scalability) โดยดำเนินการทำธุรกรรมบนหลาย Chain ในลักษณะคู่ขนาน (Parachain)

ข้อมูลเชิงลึก

  • Polkadot มี 4 องค์ประกอบหลัก ดังนี้
    • Relay Chain เป็นส่วนของ Consensus, ความสามารถในการทำงานร่วมกันของระบบ (Interoperability) และการรักษาความปลอดภัยร่วมกันทั่วทั้งเครือข่ายโดยผู้สร้าง Chain ต่าง ๆ
    • Parachain คือ Chain ที่ทำงานได้อย่างอิสระ ที่สามารถออกโทเคนของตัวเองและใช้ประโยชน์ในกรณีต่าง ๆ ได้
    • Parathread มีความคล้ายคลึงกับ Parachain แต่มีความยืดหยุ่นกว่าในด้านการเชื่อมต่อที่ใช้แนวคิดทางธุรกิจอย่าง Pay-as-You-Go หรือ การจ่ายเงินตามการใช้งาน
    • Bridge ช่วยให้ Parachain และ Parathread สามารถเชื่อมต่อและติดต่อกับ Blockchain ภายนอกอย่าง Ethereum ได้
  • เครือข่ายจะเปิดการทำงานของชุดตรวจสอบเพื่อรักษาความปลอดภัยของ Blockchain ต่าง ๆ โดยให้บริการด้านการขยายตัวที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวแก่ผู้ใช้งาน ด้วยการกระจายธุรกรรมไปยัง Blockchain คู่ขนานอื่น ๆ
  • Polkadot ใช้ Substrate Framework เพื่อเชื่อมต่อไปยัง Chain ของผู้ใช้งาน ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานสามารถสร้าง Blockchain ในแบบของตนเองได้อย่างปลอดภัยภายในเวลาอันสั้น
  • เมื่อมี Feature ใหม่ออกมาหรือเมื่อต้องการแก้บัค (Bug) บน Polkadot นักพัฒนาจะสามารถปรับปรุงระบบได้โดยไม่จำเป็นต้องทำการ Hard Fork เพราะว่าโปรโตคอลมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่เสมอ
  • ผู้ถือครองโทเคน DOT จะสามารถควบคุมการดำเนินการของโปรโตคอลได้ รวมไปถึงการจัดการเหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างการอัปเกรดและแก้ไขโปรโตคอล

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

  • มีคู่แข่งด้านแอปพลิเคชันแบบ Decentralized จาก Smart Contract Blockchain อื่น ๆ หลายราย อย่าง Ethereum, Cardano, Tron และอีกมากมาย อาจกล่าวได้ว่า Polkadot อยู่ในแวดวงของคริปโต ที่มีการแข่งขันสูง และจำเป็นต้องมีการแข่งขันอย่างหนักเพื่อส่วนแบ่งทางการตลาด

ข่าวเกี่ยวกับ Polkadot

  • Liquid Crowdloan DOT (lcDOT) เปิดตัวโดย Alaca ซึ่งเป็น Liquidity Hub ของ Polkadot ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงสภาพคล่องของ DOT ได้
  • Polkadot ได้ประกาศว่าจะมีการประมูล Parachain บนเครือข่าย Kusama ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2021 เป็นต้นไป โดยจะมีการตั้งทีมงานเพื่อดำเนินการสำหรับการประมูลรอบแรกบนโปรโตคอล เพื่อให้โปรเจกต์ Blockchain ต่าง ๆ มีโอกาสในการเปิดตัวบน Polkadot

คอมมูนิตี้ & Whitepaper ลิงก์:

คำเตือน
คริปโทเคอร์เรนซี และโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

Read more