EOS

EOS เป็นแพลตฟอร์ม Blockchain แบบสาธารณะ ที่สร้างขึ้นเพื่อเอื้อประโยชน์แก่นักพัฒนาทุกระดับ ด้วยความสามารถในการเข้าถึงเครือข่าย Blockchain ที่สามารถตั้งค่าเองได้

EOS คืออะไร?

  • EOS ให้บริการกับนักพัฒนาในการสร้างแอปพลิเคชันบนเครือข่าย ในฐานะที่เป็นแพลตฟอร์ม Blockchain แบบสาธารณะ โดยเน้นไปที่ด้านการใช้งานและประสบการณ์การของผู้ใช้งาน นอกจากนั้นยังรองรับการพัฒนา Private Chain อีกด้วย
  • กลไก Consensus แบบ Delegated Proof of Stake (DPoS) จะช่วยให้การทำงานของ Blockchain สามารถรับรองการใช้งานในปริมาณสูง โดยมีโหนด (Block Producer) จำนวน 21 โหนด ทำหน้าที่ในการควบคุมเครือข่าย ยิ่งไปกว่านั้น Block แรกบนเครือข่ายหลักของ EOS ถูกสร้างขึ้นเมื่อ มิถุนายน 2018
  • Block Producer บนเครือข่าย EOS จะถูกเลือกโดยผู้ถือครองโทเคน EOS ซึ่งมีโหนดมากกว่า 100 โหนด ที่สามารถโหวตได้ โดย 21 โหนดที่ได้รับการโหวตมากที่สุดจากผู้ถือครองโทเคน EOS จะทำหน้าที่ควบคุมการดำเนินการของเครือข่าย (เป็นเวลา 60 วินาที) และรับผลตอบแทนเป็นโทเคน EOS และที่สำคัญคือ โหนดต้องมีการปฏิบัติหน้าที่ที่ดีและต้องให้การสนับสนุนระบบนิเวศของ EOS ที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือครองโทเคนทุกคน เพื่อเป็นการรักษาตำแหน่งไว้
  • EOS ใช้ C++ เป็นภาษาโปรแกรมหลักในการสร้าง dApps บนแพลตฟอร์ม ซึ่งรวมไปถึง Smart Contract ด้วย

ตัวชี้วัดสำคัญ

ชื่อย่อEOS
ชื่อเต็มEOS
ประเภท/โปรโตคอลEOS
อุปทานทั้งหมด1,038,148,629 EOS
อุปทานหมุนเวียนในปัจจุบันดู Coinmarketcap
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดดู Coinmarketcap
วันที่สร้างมิถุนายน ปี 2018
สามารถขุดได้หรือไม่?ไม่ได้

ประวัติผู้ออก EOS

EOS พัฒนาขึ้นโดยบริษัท Block.one ซึ่งเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2018 โดยมี Brendan Blumer เป็น CEO นอกจากนั้น Dan Larimer นักวิจัยและผู้สร้างกลไก Consensus แบบ Delegated Proof of Stake (DPoS) ของ EOS ได้เข้าร่วมกับ Block.one ในฐานะ CTO และได้แยกตัวออกไปภายหลังเมื่อธันวาคม 2020 ที่ผ่านมา

วัตถุประสงค์เหรียญ EOS

เครือข่าย EOS เกิดขึ้นจากวัตถุประสงค์ด้านการอำนวยความสะดวกให้กับนักพัฒนา ไปจนถึงผู้ที่สนใจที่ไม่มีพื้นฐานทางด้าน Blockchain ให้สามารถสร้าง dApps ที่สามารถขยายตัวได้ (Scalable) และยังสามารถตั้งค่าได้ตามความต้องการของผู้พัฒนา ซึ่งการนำกลไก Consensus แบบ Delegated Proof of Stake (DPoS) มาใช้ ก็เพื่อเป็นการจำกัดจำนวนผู้ตรวจสอบ Block และเพิ่มความเร็วในการทำธุรกรรมภายในเครือข่ายแทน ในขณะที่ยังยึดหลักความเสมอภาคโดยให้ผู้ถือครองโทเคนเป็นผู้โหวตเลือกโหนดนั่นเอง

ข้อมูลเชิงลึก

โดยพื้นฐานแล้ว มูลค่าของโทเคน EOS ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการทำงานของ dApps ที่สร้างขึ้นบนแพลตฟอร์ม เนื่องจาก ผู้ใช้งาน dApps ต้องใช้ EOS ในจ่ายชำระค่าธุรกรรม ซึ่งการเพิ่มขึ้นของอุปทานหมุนเวียนที่มาจากกลไก Node Incentive (การให้ผลตอบแทนกับโหนดเป็นโทเคน) จะต้องน้อยกว่าการเติบโตเนื่องจากประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อรักษามูลค่าของ EOS ไว้

  • ช่วง ICO ของ EOS ถือว่าเป็น ICO ที่ยาวนานที่สุดและประสบความสำเร็จที่สุด และได้ระทุนกว่า 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
  • EOS ได้นำแนวคิด Inflationary Token Economic Model มาใช้ประมาณ 5% ต่อปี เพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับเครือข่าย โดยการกระตุ้น Block Producer อยู่เสมอ
  • โทเคน EOS จำนวน 850 ล้านโทเคน ถูกขายในช่วงของการ ICO นับเป็น 89% ของอุปทานหมุนเวียนทั้งหมด

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

  • การแข่งขันด้านการเป็นแพลตฟอร์ม Blockchain สาธารณะ อันดับต้น ๆ มีความเข้มข้นขึ้นทุกปี การที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้เร็วพอ อาจทำให้เกิดผลกระทบที่ร้ายแรง เนื่องจาก โดยปกติแล้ว นักพัฒนา dApps มักจะเลือกใช้แพลตฟอร์มเดียวในการสร้างเท่านั้น 
  • Block Producer ของ EOS จะถูกโหวตโดยผู้ถือครองโทเคนส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีการกำหนดไว้ว่า ผู้ใช้งานหนึ่งคนสามารถถือครองโทเคนได้กี่โทเคน ดังนั้น การผูกขาด เครือข่ายโดยผู้ถือครองรายใหญ่ อาจเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีการรายงานว่าโทเคนจำนวน 850 ล้านโทเคนถูกขายให้กับนักลงทุนไม่กี่พันคนเท่านั้นในช่วง ICO

ข่าวเกี่ยวกับ EOS

  • SB Northstar หรือ บริษัทลูกของ Softbank ได้ตกลงที่จะลงทุนเป็นจำนวน 75 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใน Bullish ศูนย์ซื้อขายคริปโตฯ ที่ดำเนินการโดย Block.one ซึ่งมีข่าวลือว่า Bullish มีความตั้งใจที่จะเป็นบริษัทมหาชน เมื่อมูลค่าถึง 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
  • อ้างอิงจาก Dappradar ได้ให้ข้อมูลว่า Upland เป็น dApps เดียวที่ถูกพัฒนาขึ้นบนแพลตฟอร์มของ EOS ที่ติด 100 อันดับต้นของการจัดอันดับ dApps 
  • Block.one กล่าวว่าศูนย์ซื้อขาย Bullish จะนำเครือข่าย Blockchain สาธารณะของ EOS มาใช้เพื่อความโปร่งใสของธุรกรรมทั้งหมดของศูนย์ซื้อขาย ซึ่งมีไว้เพื่อจุดประสงค์ในการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครือข่าย EOS และเพื่่อดึงดูดนักพัฒนาให้มาสร้างแอปพลิเคชันบน EOS นอกจากนั้น ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในหมู่นักลงทุนและนักเทรดคริปโตฯ เพื่อมาใช้งาน Bullish มากขึ้นด้วย

คอมมูนิตี้ & Whitepaper ลิงก์:

คำเตือน
คริปโทเคอร์เรนซี และโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ 

Read more