Fantom
Fantom เป็นแพลตฟอร์ม Smart Contract แบบ Open Source ซึ่งมีเป้าหมายที่จะก้าวข้ามข้อจำกัดของแพลตฟอร์ม Blockchain รุ่นก่อน
สรุปประเด็นเกี่ยวกับเหรียญ FTM
- Fantom ให้บริการ Smart Contract แก่นักพัฒนา โดยใช้ Consensus เฉพาะของตน อิงตาม Acyclic graph (DAG) Framework ซึ่งแตกต่างจาก Blockchain เดิม
- FTM Coin คือ เหรียญประจำเครือข่ายที่ไว้ใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ บนเครือข่าย Fantom
- Fantom ได้เปิดตัว Consensus Algorithm ที่สร้างขึ้นสำหรับอำนวยความสะดวกให้แก่ DeFi และบริการที่เกี่ยวข้องในนามของ Smart Contract
- Fantom ให้ความเชื่อมั่นว่า Lachesis Mechanism จะมีความจุสูงกว่าและทำธุรกรรมได้ในสองวินาที รวมทั้งปรับปรุงความปลอดภัยที่เหนือกว่าแพลตฟอร์มที่ใช้อัลกอริธึมแบบ Proof-of-Stake (PoS) เดิม
- Fantom ได้รับการออกแบบมาให้เป็น Decentralized, Open Source และ Permissionless ที่เอาชนะข้อจำกัดของแพลตฟอร์ม Blockchain รุ่นก่อน
ตัวชี้วัดสำคัญของเหรียญ FTM
ชื่อย่อ | FTM |
ชื่อเต็ม | Fantom |
ประเภท/โปรโตคอล | FTM protocol |
อุปทานทั้งหมด | 3.175 พันล้าน |
อุปทานหมุนเวียนในปัจจุบัน | ดู Coinmarketcap |
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด | ดู Coinmarketcap |
วันที่สร้าง | ธันวาคม 2019 |
สามารถขุดได้หรือไม่? | ไม่สามารถขุดได้ |
FTM Coin คืออะไร

FTM Coin คือ เหรียญที่ทำงานบนมาตรฐาน ERC-20 และ BEP-20 จุดประสงค์คือใช้รักษาความปลอดภัยเครือข่าย Fantom ผ่านการ Stake, ดำเนินการบนเครือขาย On-Chain ชำระค่าบริการและค่าธรรมเนียมของเครือข่าย Fantom
เหรียญ FTM ใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ได้ดังนี้
- รักษาความปลอดภัยของเครือข่าย Fantom
- เป็น On-Chain Governance
- ชำระค่าสินค้าและบริการต่าง ๆ
- ชำระค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นบนเครือข่าย
ขอขอบคุณรูปภาพจาก Fantom
ปัจจุบันเหรียญ FTM คือเหรียญที่มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 593,169,589 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยถูกจัดให้อยู่อันดับ 64 มีจำนวนอุปทานหมุนเวียนทั้งหมด 2,545,006,273 เหรียญ จากจำนวนจำกัดที่ 3,175,000,000 เหรียญ (อ้างอิงข้อมูลจาก CoinMarketCap ณ วันที่ 15 มิถุนายน ปี 2022)
โปรเจกต์ Fantom (FTM) คืออะไร
Fantom คือ แพลตฟอร์ม Smart Contract ที่มุ่งเน้นขยายประสิทธิภาพของเครือข่าย ทั้งด้านขนาดทำธุรกรรม ความรวดเร็ว, Decentralization ตลอดจนความปลอดภัย เพื่อก้าวข้ามข้อจำกัดของแพลตฟอร์ม Blockchain รุ่นก่อน โดยใช้กลไก Consensus เฉพาะของ ซึ่งอิงตาม Acyclic graph (DAG) Framework ทำให้แตกต่างจาก Blockchain แบบเดิม อีกทั้งนำไปประยุกต์ใข้กับแพลตฟอร์มอื่นได้
ปัจจุบันมี dApps มากกว่า 200 ตัวที่ปรับใช้ให้เข้ากับเครือข่าย Fantom ไม่ว่าจะเป็น Decentralized Exchange อย่าง Curve, Sushi และ 1inch หรือแพลตฟอร์ม NFT อย่าง PaintSwap และ NFTKEY รวมไปถึง Wallet ต่าง ๆ อย่าง MetaMask, Trust Wallet, Ledger และอีกมากมายนอกจากนี้ Fantom (FTM) ได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับแพลตฟอร์มคริปโตเคอร์เรนซีอีกหลายแห่ง เช่น Chainlink, The Graph, Brand Protocol, Covalent เป็นต้น
Fantom (FTM) ทำงานอย่างไร
- High-Speed Consensus Mechanism ของ Fantom คือ Lachesis เป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขประสิทธิภาพในการปรับขนาดบล็อกเชน เพราะช่วยให้ทำงานได้เร็ว รวมทั้งปรับปรุงเหนือกว่าระบบปัจจุบันผ่านกลไก Consensus ที่ปลอดภัย
- โปรโตคอล Leaderless แบบ Proof-of-Stake ช่วยรักษาความปลอดภัยเครือข่าย
- Fantom ใช้ Modularity เพื่อเกิดความยืดหยุ่น ซึ่งขับเคลื่อนโดย Ethereum Virtual Machine (EVM) ที่เข้ากันได้กับ Ethereum
- แต่ละเครือข่ายที่สร้างขึ้นบน Fantom นั้นเป็นอิสระจากกัน ซึ่งหมายความว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากการรับส่งข้อมูลในแต่ละเครือข่าย
- Fantom อนุญาตให้ทุกคนเรียกใช้ Node ซึ่ง Validator Node มีส่วนร่วมในการรักษาความปลอดภัยเครือข่ายได้ไม่จำกัดจำนวน ตราบใดที่มี FTM ขั้นต่ำอยู่ที่ Stake 1,000,000 แต่ หากเป็นถือครองโทเคนในปริมาณที่น้อยกว่า หรือไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในการรันระบบแบบ Decentralized ก็ยังสามารถมีส่วนร่วมในการรักษาความปลอดภัยเครือข่ายผ่าน Delegation ไปยัง Validation Node ได้
Roadmap ของโปรเจกต์ Fantom (FTM)
ภาพรวม Roadmap ของ Fantom (FTM) นั้นดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน นับตั้งแต่เปิดตัว Testnet เมื่อปลายปี 2019 ต่อมาได้เปิดตัวครั้งสำคัญครั้งที่สองคือ Opera Mainnet เมื่อธันวาคม ปี 2019 ซึ่งเป็นเครือข่ายรองรับ EVM และ Smart Contract และดำเนินการตามกลไก Consensus ของ Lachesis เป็นต้นมา
จุดเด่นของ Fantom (FTM)
Fantom (FTM) ทำงานด้วยกลไก Consensus แบบ Proof-of-Stake (PoS) เรียกว่า Lachesis Consensus ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยเครือข่าย รวมทั้งปรับขนาดเครือข่ายโหนดให้เหมาะสมกับปริมาณผู้ใช้งาน ที่สำคัญ ยังรักษาความรวดเร็วในการทำธุรกรรม โดย Lachesis มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
- ใช้ความเร็วในการทำธุรกรรมเฉลี่ยอยู่ที่ 1 วินาที
- Lachesis ปรับขนาดการทำงานของ Node ได้หลายร้อย Node
- Fantom ทำงานร่วมกับ Ethereum ได้เต็มรูปแบบ เพราะรองรับการทำงานของ Smart Contract ที่เขียนขึ้นด้วยภาษาโปรแกรมของ Ethereum
- Lachesis นำไปใช้สร้างบัญชีส่วนตัวและบัญชีสาธารณะได้ โดยใช้ Ethereum Virtual Machine (EVM) หรือ Cosmos SDK
ทีมงานเบื้องหลัง Fantom (FTM)
Fantom (FTM) ก่อตั้งโดย Dr. Ahn Byung Ik นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชาวเกาหลีใต้ แต่ปัจจุบันทีมบริหารโปรเจกต์คือ Michael Kong ดำรงตำแหน่ง CEO โดย Michael มีประสบการณ์ในวงการเทคโนโลยียาวนานกว่า 10 ปี นอกจากนี้ บุคคลอื่นภายในทีมยังประกอบด้วยวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย นักออกแบบ และผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์กว้างขวางจากทั่วทุกมุมโลก
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นของ Fantom (FTM)
- เดิมที FTM ทำการ Stake กับศูนย์ซื้อขายอื่นไม่ได้ เพราะผู้ใช้งานต้องทำการ Stake บนแพลตฟอร์ม Fantom เท่านั้น ซึ่งอาจไม่สะดวกสำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการ Stake สกุลเงินต่าง ๆ
ข่าวเกี่ยวกับ Fantom (FTM)
- ล่าสุด Fantom ออกมาประกาศว่าจะร่วมมือกับ Boba Network แพลตฟอร์มบล็อกเชนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการปรับขนาดข้ามเครือข่าย เพื่อรองรับ dApps และระบบนิเวศ Web3 – [15 มิ.ย. 2565]
- เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ได้เปิดตัว Zerion Wallet ที่รองรับเครือข่ายของ Fantom อย่างสมบูรณ์ โดย Zerion Wallet เป็น Samet Mobile Wallet สำหรับ Web3 และช่วยจัดการ DeFi และ NFT ทั้งหมดของผู้ใช้งาน ทำให้ผู้ใช้งานซื้อขายบน Fantom และเครือข่ายอื่น รวมถึงเชื่อมต่อกับ dApp ใดก็ได้จากสมาร์ตโฟน – [15 มิ.ย. 2565]
- แหล่งข้อมูลราคา Chainlink ใช้งานบน Fantom Opera mainnet โดย DeFi Smart Contract บน Fantom mainnet กระจายเครือข่ายที่ขับเคลื่อนบน Chainlink Oracle เพื่อให้เกิดการป้องกันในระดับสูง ปราศจากการการบิดเบือนข้อมูล และขจัดปัญหาป้อนข้อมูลจากตลาดการเงินล่าช้า
- Curve Finance ได้เปิดตัว Decentralized Exchange รุ่นเดียวกันบน Fantom ที่มีมากถึง 3 กลุ่ม ด้วย Incentivization Mechanism ซึ่งโปรโตคอลควรขับเคลื่อนสภาพคล่องให้กับเครือข่าย
- Fantom ได้รายงานว่ามีผู้ใช้งานใหม่เพิ่มขึ้น 70% ทุกเดือน ทำให้ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมน้อยและเร็ว ซึ่งหมายความว่าเครือข่ายดึงดูดผู้ใช้งานใหม่จำนวนมากตั้งแต่เปิดตัว
คอมมูนิตี้ & Whitepaper ลิงก์:
Official Website: https://fantom.foundation/
White Paper: https://fantom.foundation/research/wp_fantom_v1.6.pdf
คำเตือน
คริปโทเคอร์เรนซี และโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้