Maker

MarkerDAO (MKR) เป็นเหรียญที่ถูกสร้างขึ้นบนแพลตฟอร์มการกู้ยืมแบบ Decentralized  ที่เรียกว่า  bMakerDAO ภายใต้แนวคิด Decentralized Autonomous Organisation หรือ DAO

Maker คืออะไร 

  • ในปี 2015 MakerDAO ถูกสร้างโดย Rune Christensen ซึ่งตระหนักถึงข้อจำกัดบางประการของ Bitcoin เขาเห็นว่า Bitcoin มีอุปทานสูงสุดและใช้สำหรับเก็งกำไร ส่งผลให้ราคา Bitcoin อาจมีความผันผวนเกินกว่าที่จะเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนแบบสกุลเงินตรา ดังนั้น Christensen จึงได้ริเริ่มสร้าง Stablecoin ที่มีเสถียรภาพและความผันผวนต่ำ
  • Dai หรือ Sai ซึ่งเป็น Stablecoin ที่ออกแบบและสร้างโดย MakerDAO และถูกเรียกว่า Dai Stablecoin System เนื่องจากใช้สกุลเงินดิจิทัลเพียงเหรียญเดียวเพื่อค้ำประกัน ซึ่ง Sai นั้นย่อมาจาก Single-Collateral Dai หรือ SCD  หลังจากได้เปิดตัว Sai ทาง Maker Governance ได้เสนอนโยบายเพื่อพัฒนาและอัปเกรดโทเคนเพื่อรองรับสกุลเงินดิจิทัลประเภทต่าง ๆ ที่เรียกว่าMultiple-Collateral Dai(MCD) ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ Maker Protocol
  • Dai แตกต่างจากเหรียญ Stablecoin อื่น ๆ เนื่องจากได้ถูก backup โดย Maker Protocal ซึ่งต่างจาก USDC และ USDT ตรงที่เงินสำรองดอลลาร์สหรัฐฯ ได้ถูกจัดสรรในสัดส่วนที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับผู้ออกนโยบายซึ่งยากต่อการตรวจสอบ ในขณะที่ Dai ได้รับการจัดการด้วยระบบ On-chain ทำให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบกระบวนการได้
  • เนื่องจากเหรียญ MRK เป็น Governance Token ผู้ถือจึงสามารถลงคะแนนและเสนอการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่อเครือข่ายของ MakerDAO และ Maker Protocal เพื่อการพัฒนาที่ดีขึ้น 

ตัวชี้วัดสำคัญ

ชื่อย่อMKR
ชื่อเต็มMaker
ประเภท/โปรโตคอลERC-20
อุปทานทั้งหมด1,005,577 MKR
อุปทานหมุนเวียนในปัจจุบัน ดู Coinmarketcap
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดดู Coinmarketcap
วันที่สร้างเม.ย. 2015
สามารถขุดได้หรือไม่?ไม่

ประวัติผู้ออก Maker

MakerDAO Project เกิดขึ้นเมื่อปี 2015 ริเริ่มจากคุณ Rune Christensen ที่เล็งเห็นข้อบกพร่องของ Bitcoin เนื่องจากการถูกจำกัดด้วยปริมาณ Supply บวกกับการถูกนำไปใช้เก็งกำไร ส่งผลให้มูลค่าราคาของ Bitcoin มีความผันผวนสูงเกินกว่าที่จะใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเหมือนกับ Fiat Currency จึงเกิดแนวคิดริเริ่มการสร้างระบบการเงินที่สามารถสร้าง Stable Coin ซึ่งมีมูลค่าคงที่และความผันผวนต่ำสามารถใช้เป็นสื่อกลางในชีวิตประจำวันได้

วัตถุประสงค์ของเหรียญ

Governance Token ผู้ถือครองจะสามารถจะได้รับสิทธิในการเข้าโหวตออกเสียงและเสนอพัฒนานโยบาย (Proposal) เพื่อเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างของ MakerDAO และ Maker Protocol ทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น

  • การปรับเพิ่ม/ลด คริปโตเคอร์เรนซีที่ถูกใช้เป็นหลักประกันภายใน Vault ของ Maker Protocol
  • ปรับเปลี่ยน Risk Parameters ได้แก่ Liquidation ratio, Debt ceiling เป็นต้น
  • กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมได้แก่ Stability Fee , Dai Saving Rate เป็นต้น
  • การออกผลิตภัณฑ์ของทาง Maker Community เช่น Oasis Hub
  • Upgrade Version ของ Maker Protocol

ข้อมูลเชิงลึก

Dai Stable coin System

ในอดีต MakerDAO ได้ออกแบบระบบสร้าง Stable Coin ออกมาเป็นเหรียญ Dai หรือ Sai โดยเรียกระบบนี้ว่า Dai Stable Coin System เพราะระบบจะใช้คริปโตเคอร์เรนซีประเภทเดียวเท่านั้นสำหรับการวางเป็นหลักประกันในการสร้าง Dai ออกมาแล้วถึงเรียกอีกชื่อนึงว่า Sai ย่อมาจาก Single Collateral Dai  จนต่อมาทาง Maker Governance ได้มีเสนอนโยบายการพัฒนาและอัปเกรตระบบให้สามารถรองรับประเภทคริปโตเคอร์เรนซีที่ถูกใช้เป็นหลักประกันได้หลากหลายมากขึ้น จนเกิดรูปแบบใหม่คือ Multiple Collateral Dai System (MCD) หรือที่เรารู้จักกันอีกชื่อ Maker Protocol 

Maker Protocol

Maker Protocol คือ เป็น Decentralized Finance ในรูปแบบของการสร้างเหรียญ Stable Coin จากการวางหลักประกันแบบ Multi-Collateral จากคริปโตเคอร์เรนซีที่หลากหลาย โดยดำเนินงานบนระบบเคือข่ายของทาง Ethereum Blockchain ซึ่งให้ผู้คนสามารถเข้ามาใช้บริการวางคริปโตเคอร์เรนซีเป็นหลักประกันสำหรับการสร้างเหรียญ Stable Coin มาใช้ทำธุรกรรมการเงินต่างๆภายใน Ethereum Ecosystem นั้นก็คือ Dai ที่มีมูลค่าใกล้เคียงกับ US Dollar ด้วยการคำนวณจากระบบ 

ซึ่ง Dai จะแตกต่างจาก Stable Coin อื่น โดยก่อนที่จะทำการสร้าง Dai นั้นระบบ Protocol จะทำการ Back ด้วยคริปโตเคอร์เรนซีจากการวางเป็นหลักประกันในการสร้าง Dai ขึ้นมา ซึ่งแตกต่างจาก USDC , USDT ที่ใช้ US Dollar สำรองไว้โดยตรงตามสัดส่วนที่แตกต่างกันตามนโยบายของทางบริษัทผู้ออกและยากที่จะตรวจสอบ ผิดกับ Dai ที่ถูกจัดการบน On-Chain สามารถทำให้ผู้คนสามารถตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการได้

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ของทาง Maker

Oasis Borrow

  • มีลักษณะเป็นบริการที่ให้ผู้เข้าใช้งานเข้ามาเลือก Vault สำหรับการวางหลักประกันคริปโตเคอร์เรนซีเพื่อสร้าง Dai ออกมา โดยแต่ละ Vault นั้นจะถูกกำหนดให้รองรับเฉพาะ BAT, ETH และเหรียญที่ทาง MKR Governance นั้นเห็นชอบและผ่านการอนุมัติเรียบร้อยแล้วเท่านั้น

Oasis Save

  • มีลักษณะเป็นบริการฝากโดยทำการล็อก Dai ไว้กับ Maker Protocol ผ่าน Smart Contract เพื่อรับผลตอบแทนในรูปแบบที่เรียกกันว่า Dai Saving Rate (DSR) ซึ่งทาง Oasis Save ไม่ได้มีการกำหนดขั้นต่ำในการล็อก Dai นอกจากนี้ผู้บริการสามารถทำการฝาก-ถอนออกได้ตลอดเวลา

Oasis Trade

  • มีลักษณะเป็น Trading Platform ที่ให้บริการซื้อขายแลกเปลี่ยน Dai และ คริปโตเคอร์เรนซีอื่นๆที่รองรับการใช้งานภายใต้ Oasis Trade นอกจากนี้ทางระบบยังมีบริการ Swap เหรียญแบบเบ็ดเสร็จเพื่อให้สามารถทำการเทรดบน Platform ได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาในการไปแลกเปลี่ยนที่อื่น

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

  • ทั้งเหรียญ MKR และ Dai สามารถใช้และรองรับแค่ภายใน Ethereum Ecosystem เท่านั้นไม่สามารถใช้นอกเหนือจากนี้
  • ราคาของ MKR นั้นจะมีการผันแปรตามความต้องการของการใช้ Dai
  • Bug ของ Smart Contract ในกระบวนการส่งข้อมูล Information Flow ภายใน Protocol
  • ความเสี่ยงเรื่องการปรับสมดุลระหว่างมูลค่าที่ลดลงของหลักประกันในกรณีที่เกิดสภาวะ Panic ของตลาดอย่างรุนแรง ซึ่งส่งผลเสียหายร้ายแรงกับทางระบบโดยตรง ซึ่งเคยเกิดขึ้นเมื่อช่วงเดือนมีนาคม 2021 ที่ผ่านมาจากการปรับฐานลงอย่างรวดเร็วของ Ethereum ถึง 30 % ภายใน 24 ชม. ส่งผลกระทบให้ระบบเกิดภาระหนี้จากหลักประกัน Ethereum  สูงถึง 4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ข่าวเกี่ยวกับ MKR

  • บริษัท NOWPayments เป็นผู้ให้บริการชำระธุรกรรมการเงินด้วยคริปโตเคอร์เรนซี ในรูปแบบ Instant Crpyto Payment System ได้มีการนำ Dai มาใช้งานเป็นหนึ่งในเหรียญสำหรับการใช้งานธุรกรรมการเงิน
  • บริษัท Splinterlands ผู้ผลิต Collection Game Cards บน Blockchain ไปจับมือร่วมเป็น Partner กับ MakerDAO ในการนำ Dai มาใช้งานซื้อขาย Item Cards ภายในเกมส์  และนอกจากนี้ MakerDAO ยังเป็นผู้สนับสนุนในเงินรางวัลของงานแข่งขัน Card Tournament โดยรางวัลชนะเลิศที่ได้จะถูกจ่ายเป็นเงิน Dai ให้แก่ผู้ชนะ
  • Application “PayCek” ของประเทศโครเอเชียที่ให้บริการธุรกรรมการเงินออนไลน์ได้ริเริ่มนำ Dai มาใช้งานในธุรกรรมการเงิน ซึ่งสามารถใช้ชำระบริการต่างๆได้อาทิเช่น ค่าอาหาร,ค่าตั๋วนิทรรศการของพิพิธภัณฑ์ เป็นต้น โดยริเริ่มทดลองการใช้ภายในประเทศโครเอเชียก่อนเป็นที่แรก

คอมมูนิตี้ & Whitepaper ลิงก์:

คำเตือน
คริปโทเคอร์เรนซี และโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

Read more