THORChain

THORChain เป็น Liquidity Protocol รูปแบบกระจายศูนย์ (Decentralized) ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลข้ามบล็อกเชนที่ต่างกันได้

THORChain (RIUNE) คืออะไร?

  • THORChain (RUNE) ถูกสร้างขึ้นเพื่อต้องการให้ผู้ใช้งานสามารถแลกเปลี่ยน (Swap) โทเคนดิจิทัลข้าม Chain ที่ต่างกัน โดยไม่จำเป็นต้องทำการ Wrapping เพื่ออ้างอิงมูลค่า หรือ ใช้โทเคนดิจิทัลประเภท Pegged เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน
  • แทนที่จะกำหนดให้ผู้ใช้งานเลือกศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในการแลกเปลี่ยน Bitcoin หรือ Ethereum ทาง THORChain ได้ให้ความสำคัญถึงความเป็นไปได้ในรูปแบบตรงกันข้ามด้วยการป้องกันการสูญเสียทรัพย์สินของผู้ใช้งาน
  • โทเคน Rune ใช้งานในการขับเคลื่อนเครือข่าย THORChain และยังใช้สำหรับเป็นสกุลเงินหลักในเครือข่ายได้อีกด้วย
  • THORChain เป็นสินทรัพย์ที่ไม่จำเป็นต้อง Peg หรือ Wrap ด้วย Blockchain ประเภทอื่น ๆ เหมือนอย่างแบบ WBTC เพราะก่อนหน้านี้ การเคลื่อนย้าย Bitcoin ระหว่าง Blockchain เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากลำบาก เนื่องจากต้องทำให้ Bitcoin อยู่ในเวอร์ชั่นของโทเคน ECR-20 ซึ่งเป็น Bitcoin ที่อยู่บน Ethereum Blockchain จึงทำให้ WBTC สามารถเชื่อมและได้รับการรองรับกับ Ethereum Wallet, Decentralized Applications (dApps) และ Smart Contract ได้อย่างอัตโนมัติ
  • Liquidity Protocol นั้นถูกออกแบบมาเพื่อใช้วิเคราะห์ผู้ใช้งานที่เข้ามาฝากใน Vault ใหม่ และยังมีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการธุรกรรมประเภท Outbound ด้วยเช่นกัน

ตัวชี้วัดสำคัญของเหรียญ RUNE

ชื่อย่อRUNE
ชื่อเต็มTHORChain
ประเภท/โปรโตคอลERC-20
อุปทานทั้งหมด461,668,422
อุปทานหมุนเวียนในปัจจุบันดูที่ Coinmarketcap
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดดูที่ Coinmarketcap
วันที่สร้างตุลาคม 2020
สามารถขุดได้หรือไม่?ไม่ได้

ทีมงานเบื้องหลัง THORChain (RUNE)

THORChain เป็น Decentralized Project ที่ถือกำเนิดขึ้นโดยที่ไม่มีทั้งบริษัท, CEO หรือแม้กระทั่งบุคคลสาธราณะ โดยโปรเจกต์นี้ถือกำเนิดขึ้นในปี 2018 จากทีมงานของกลุ่มบุคคลนิรนาม ด้วยสาเหตุที่ต้องการจะปกป้องความปลอดภัยของโปรเจกต์และตัวตนของพวกเขาไว้ จึงแสดงแค่ข้อมูล GitHub IDs เท่านั้น

ด้าน Business Model มีการจัดแบ่งค่าธรรมเนียมทั้งหมดคืนให้แก่ผู้ใช้งาน ซึ่งจะไม่มีการแบ่งรายได้คืนแก่ทางทีมงาน ส่วนค่าธรรมเนียมจากการแลกเปลี่ยน (Swap) ทั้งหมดจะแบ่งให้แก่ผู้ใช้งานที่เข้าเพิ่มสภาพคล่อง (Liquidity Provider) ในขณะที่ส่วนของค่าธรรมเนียมในระบบจะถูกทำการ Burned ทิ้ง และท้ายสุดส่วนของ Block Reward นั้นจะแบ่งให้แก่ผู้ตรวจสอบธุรกรรม (Validator)


RUNE Coin คืออะไร

ขอขอบคุณรูปภาพจาก Thorchain

Rune Coin คือยูทิลิตี้โทเคนของ THORChain โดยผู้ที่ครอบครองเหรียญ RUNE นั้นสามารถเข้าร่วมการลงคะแนนเสียงต่าง ๆ ได้ ปัจจุบันเหรียญ RUNE ถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 57 จาก CoinMarketCap และมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 961,245,359 ดอลลาร์สหรัฐฯ มีอุปทานหมุนเวียนอยู่ในตลาด 330,688,061 เหรียญ และมีจำนวนจำกัดอยู่ที่ 500,000,000 เหรียญ


ฟีเจอร์และผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจของ THORChain (RUNE)

ขอขอบคุณรูปภาพจาก Cryptologos
  • THORChain มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 2018 พร้อมกับเปิดตัวด้านการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ใหม่ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้งานจาก Centralized Exchange
  • โปรเจกต์ได้มีนำเสนอบริการ สภาพคล่องที่ครบถ้วน โปร่งใส ตลอดจนครอบคลุมถึงกระบวนการในเชิง Logic ของเครือข่าย ซึ่งจะพัฒนาให้เสร็จเรียบร้อย ตามที่ THORChain มีการอัปเดตให้กับทาง Community ของตนเกี่ยวกับความคืบหน้าของการพัฒนาในทุก ๆสัปดาห์
  • THORChain ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของการทำงานรูปแบบ Cross-Chain ซึ่งมีจุดประสงค์หลักคือ ทำให้การแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวก ราบรื่น
  • THORChain ยังถูกออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาในส่วนของ Decentralized Finance (DeFi) เพื่อเลี่ยงข้อกำหนดมาตราฐานต่าง ๆ ที่มีการป้อนข้อมูลภายนอก หรือ Oracle ที่มีการใช้ Liquidity Pool อย่างต่อเนื่อง
  • THORChain เป็นเครือข่าย Tendermint ซึ่งเป็นชุดเครื่องมือที่ช่วยทำให้นักพัฒนาสามารถข้ามขั้นตอนเบื้องต้นของการพัฒนา Blockchain ไปสู่การพัฒนา Blockchain และ App ในระดับสูงได้เลย
  • THORChain ใช้งานระบบ Proof-of-Stake (PoS) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงการโจมตีรูปแบบของ Sybil Attack ซึ่ง Sybil Attack จะมีผู้ไม่หวังดีเข้ามาทำลายภาพลักษณ์ ชื่อเสียง ระบบบริการของเครือข่าย ผ่านการปกปิดตัวตนที่ไม่สามารถระบุได้เป็นจำนวนมาก
  • THORChain ใช้อัลกอริธึม Consensus ที่เรียกว่า Byzantine Fault Tolerance (BFT) เพื่อสร้างความปลอดภัยระดับสูงของเครือข่าย และธุรกรรมต่าง ๆ จะทำงานก็ต่อเมื่อความคิดเห็นเหมือนกัน แม้ว่ามีผู้ไม่หวังดีอยู่ในเครือข่ายก็ตาม
  • Node Operators มีหน้าที่รับผิดชอบในการรันระบบซอฟแวร์ของเครือข่าย THORChain
  • ภายในระบบ Ecosystem ของ THORChain มีการแบ่งกลุ่มของผู้ใช้งานออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ใช้งานทั่วไป และ Liquidity Provider
  • RUNE Token มีหลากหลายวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ซึ่งรวมไปถึงการใช้งานเพื่อขับเคลื่อนกระบวนการ Liquidity, Security และ Governance ตลอดจนกลไกในการสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้ที่มีส่วนร่วมในเครือข่าย
  • Liquidator และ ผู้ใช้งาน RUNE สามารถเข้าใช้บริการ RuneVault ได้ โดย RuneVault มีฟีเจอร์หลักที่ให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปจัดเก็บ และฝากโทเคนดิจิทัลเพื่อสร้างผลตอบแทนได้

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นของ THORChain (RUNE)

  • ตามข้อเท็จจริงที่ทาง THORChain นั้นไม่มีการเปิดเผยข้อมูลของทีมพัฒนานอกเหนือจากข้อมูล GitHub ID ที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ จึงทำให้มีความเสี่ยงเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยของโปรเจกต์ เนื่องจากโปรเจกต์คริปโตส่วนใหญ่จะเปิดเผยทีมพัฒนาเพื่อความถูกต้องโปร่งใส
  • White-hat แฮกเกอร์ได้มีการค้นพบปัญหา Bug ภายใน THORChain ETH Router โดยปัญหา Bug นี้ทำให้แฮกเกอร์สามาถทำการดึงข้อมูลของสินทรัพย์ประเภท ERC-777 ได้ ซึ่งในปัจจุบันกำลังมีการแก้ไขข้อบกพร่องตรงนี้อยู่

ข่าวเกี่ยวกับ THORChain (RUNE)

  • THORChain ออกมาประกาศก้าวสำคัญผ่าน Twitter ว่าขณะนี้ทางแพลตฟอร์มประสบความสำเร็จในการขยาย Shard จากเดิมที่มีเพียง 3 Shard มาเป็น 6 Shard แล้ว เพื่อเพิ่มความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลอย่างสะดวกและรวดเร็ว – [8 มิ.ย. 2565]
  • THORChain มีทรัพย์สินอยู่ที่ 194 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ณ วันที่ 30 สิงหาคม 2021) ซึ่งมีมากเพียงพอสำหรับ Roadmap และจัดสรรเพื่อช่วยเหลือทาง Community ของตนเอง – [30 ส.ค. 2564]
  • THORChain Protocol ได้มีการปรังปรุงพัฒนาระบบไปเป็นจำนวนมาก ได้แก่ The Automatic Solvency Checker, Granular Network Pause Controls, Node Timeouts, Outbound Throttling, Node Broadcast Bot และ Live Monitoring
  • THORSwap เป็น Decentralized Exchange รูปแบบ Cross-Chain ที่สร้างขึ้นบน THORChain สามารถทำการระดมเงินทุนได้มูลค่า 3.75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในงาน Private Token Sale ที่จัดทำโดย IDEO CoLab Ventures

คอมมูนิตี้ & Whitepaper ลิงก์:


คำเตือน
คริปโทเคอร์เรนซี และโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

Read more