Tokenization คืออะไร? สรุปเทคโนโลยีเปลี่ยนโลกในที่เดียว


Tokenization คือเทคโนโลยีที่ใช้ Blockchain ที่นอกจากวงการการเงินแล้ว ยังมาพลิกโฉมโลกในหลายธุรกิจ มาดูกันว่า Tokenization คืออะไร ใช้ทำอะไรได้แล้วบ้าง สรุปเคลียร์ที่นี้ที่เดียว
Tokenization อาจจะฟังดูเป็นคำที่เข้าใจยาก แต่ที่จริงแล้วเทคโนโลยีนี้อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด และอาจจะมาเปลี่ยนแปลงโลกไปในแบบที่เรานึกไม่ถึงมาก่อน ในอนาคตเราอาจจะสามารถซื้อบ้านทั้งหลังได้ในคลิกเดียวแบบไม่ต้องมีเอกสารสักแผ่น การทำธุรกรรมต่าง ๆ ก็จะง่ายดายเหมือนการสั่งของบน Lazada มาดูกันว่าที่จริงแล้ว Tokenization คืออะไร แล้วจะมาเปลี่ยนแปลงโลกของเราได้อย่างไรบ้าง?
Tokenization คืออะไร?
Tokenization คือการเปลี่ยนข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน มาเป็นข้อมูลที่ยังครบถ้วน แต่ปลอดภัยมากขึ้น ใช้ได้เหมือนเดิม โดยมักจะใช้เพื่อทำให้ธุรกรรมทางการเงินง่ายดายและปลอดภัยมากขึ้น เช่น การประมวลผลธุรกรรมบัตรเครดิตบนเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์
Asset Tokenization คืออะไร?
Asset tokenization คือการเปลี่ยนสินทรัพย์ในโลกจริงให้เป็นสินทรัพย์ดิจิทัล หรือโทเคน โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ทำให้เราสามารถแปลงสินทรัพย์อย่าง ทอง อสังหาริมทรัพย์ หรืองานศิลปะให้เป็นโทเคนดิจิทัลได้ การซื้อขายสินทรัพย์ก็จะเกิดขึ้นได้ง่ายมากขึ้น ค่าใช้จ่ายถูกลง โอนถ่ายความเป็นเจ้าของได้สะดวก ช่วยให้สภาพคล่องของสินทรัพย์นั้น ๆ ดีขึ้น และยังช่วยเพิ่มโอกาสในการลงทุนอีกด้วย
การใช้ Tokenization กับสินทรัพย์ทั่วไป
การซื้อของออนไลน์ในโลกปัจจุบันนั้นเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ เพียงแค่ไม่กี่คลิก ไม่ว่าจะเป็นการสั่ง Gadget รุ่นใหม่ที่หลังจ่ายเงินผ่านเว็บไซต์แล้วสามารถรอเพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนของมาส่งถึงบ้าน หรือ การส่งของขวัญในโอกาสพิเศษให้ครอบครัวที่อยู่กันคนละประเทศก็สามารถทำได้ง่าย ๆ แบบแทบไม่ต้องวางแผนอะไร แต่พอเราต้องการซื้อสินทรัพย์บางอย่างเช่น รถ หรือ บ้าน แล้ว ขั้นตอนการซื้อกลับไม่ง่ายดายแบบนั้น นอกจากจะต้องดำเนินการด้วยเอกสารหลายชุดแล้ว ยังต้องมีขั้นตอนมากมาย ที่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นมากมาย
สินทรัพย์หลายชนิด เช่น อสังหาริมทรัพย์ หรืองานศิลปะ ยังทำการเคลื่อนย้ายได้ยาก เราไม่สามารถส่งภาพราคาร้อยล้านบาทไปต่างประเทศได้ง่ายๆ เหมือนกับการส่งจดหมายหรือเสื้อผ้า การทำเรื่องผ่านขั้นตอนต่างๆ ก็ยุ่งยากวุ่นวายจนปวดหัวกันทุกฝ่าย
เทคโนโลยี Tokenization สามารถเข้ามาแก้ปัญหาในการซื้อขายสินทรัพย์ได้แบบที่เราไม่เคยนึกถึงมาก่อน โดยเราสามารถใช้การ Tokenization เพื่อแปลงสินทรัพย์ในโลกจริง ให้เป็นโทเคนดิจิทัลบนบล็อกเชน หรือ Distributed ledger จนเราสามารถส่งต่อมูลค่าและความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ให้กันได้แบบทันที ทำให้เราสามารถซื้อของสะสมราคาแพงหรือบ้าน พร้อมส่งมอบให้ผู้ซื้อได้แบบไม่ต้องมีเอกสารให้วุ่นวายในคลิกเดียว
การทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศ
การทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศนั้นมักจะมีขั้นตอนที่วุ่นวาย ค่าธรรมเนียมแสนแพง และใช้เวลาค่อนข้างนาน เรียกว่ายังมีช่องว่างมากมายให้เราได้เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกรรมเหล่านี้ อุตสาหกรรมการเงินนั้นเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการทำธุรกิจบนโลกของเรา และเทคโนโลยี Tokenization บนบล็อกเชนนี้ที่จะเข้ามาพลิกโฉมวงการการเงินไปตลอดกาล โดยมันจะช่วยให้เราสามารถทำธุรกรรมทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินให้ลูกหลานในต่างประเทศ หรือชำระเงินให้กับคู่ค้าที่อยู่อีกซีกโลก ก็สามารถเกิดขึ้นอย่างปลอดภัยได้แบบทันที และนอกจากเงินแล้วเราก็ยังสามารถทำธุรกรรมแบบเดียวกันได้กับสินทรัพย์อื่น ๆ ได้อีกด้วย
แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ได้ง่ายดายกว่าที่เคย
กระบวนการการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ หรือ Securitization นั้นคือการเอาสินทรัพย์ทางการเงินหรือภาระทางการเงินตามกฎหมาย เช่น เงินกู้ มาแปลงเป็นหลักทรัพย์เพื่อเสนอขายแก่นักลงทุน ที่โดยปกติแล้ว กระบวนการ Securitization มีความยุ่งยาก ใช้เวลานาน และค่าใช้จ่ายสูง
แต่ด้วยเทคโนโลยี Tokenization ในปัจจุบัน ทำให้เราสามารถปรับบางสินทรัพย์หรือธุรกรรมเช่นเงินกู้ มาอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ทำให้เราสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ได้ง่ายขึ้น มีสภาพคล่องที่ดีขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพากระบวนการที่วุ่นวายอย่าง Securitization อย่างที่เคยเป็นมา
โทเคน กับ สกุลเงินดิจิทัลต่างกันอย่างไร?
หลายคนอาจจะคิดว่าโทเคนนั้นก็ไม่ต่างอะไรจากสินทรัพย์ดิจิทัล หรือสกุลเงินดิจิทัลที่เราได้ยินกันบ่อยๆ แต่ที่จริงแล้วการใช้โทเคนบนบล็อกเชนนั้นสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้มากกว่าแค่โลกการเงิน หรือสกุลเงินดิจิทัล การสร้างระบบให้ทำงานได้ด้วยเองแบบอัตโนมัติบนบล็อกเชนทำให้การทำธุรกรรมต่างๆ มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ใช้เวลาน้อยลง ค่าธรรมเนียมต่ำลง และมีความโปร่งใสมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าทำให้เกิดสกุลเงินดิจิทัลที่มาเปลี่ยนโลกของการชำระเงินและการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศไปอย่างสิ้นเชิง ตอนนี้เราสามารถโอนเงินไปอีกซีกโลกนึงได้แบบทันที ด้วยค่าธรรมเนียมต่ำ โดยไม่ต้องมีตัวกลางอย่างธนาคาร แต่เราสามารถใช้งาน Tokenization ได้มากกว่านั้น
Tokenization ทำให้เราสามารถทำเงินจาก “สิทธิในการใช้งาน” ได้ ยกตัวอย่างเช่น NFT หรือ Non-Fungible Token ที่ช่วยให้เราเปลี่ยนสินทรัพย์อย่างของสะสม งานศิลปะ บ้าน รถ จนกระทั่งชื่อเสียงของคนมาเป็นโทเคนในโลกดิจิทัล ที่เราสามารถทำการซื้อขาย ถ่ายโอนสิทธิ์ความเป็นเจ้าของได้อย่างง่ายดายแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
Tokenization ตัวแทนสินทรัพย์ในโลกดิจิทัล
Tokenization อาจจะดูไม่ค่อยหวือหวาน่าตื่นเต้น เพราะเราอาจจะคุ้นชินกับการทำธุรกรรมบนโลกดิจิทัลอยู่แล้ว โดยเฉพาะในโลกการเงิน เช่น เวลาที่เรากดซื้อรองเท้าใหม่มาเติมในตู้ที่มีอยู่แล้วร้อยคู่ เราก็จะได้ความเป็นเจ้าของรองเท้ามา แลกกับเงินในบัญชีธนาคารเราก็จะหายไป
แต่ถ้าสมมติวันนึงเราอยากซื้องานศิลปะหรูหราราคาแพง แต่เงินเก็บเรามีอยู่แค่นิดหน่อยล่ะ? Tokenization ทำให้เราสามารถซื้อขายสินทรัพย์บางส่วนได้ เช่น เราอาจจะขอซื้อ 10% ของภาพ Mona Lisa มาเป็นของตัวเองได้แบบไม่ต้องเดินทางออกจากบ้านแม้แต่ก้าวเดียว อีกทั้งยังสามารถขายโทเคน 10% นี้ไปให้กับคนอื่นเพื่อทำกำไรได้ในอนาคตอีกด้วย เทคโนโลยี Tokenization จึงมาช่วยกำจัดข้อจำกัดในการซื้อขายสินทรัพย์ที่เราประสบมาตลอด รวมไปถึงข้อจำกัดทางด้านภูมิศาสตร์ เช่นซื้อสินทรัพย์ที่อยู่ต่างประเทศ พร้อมกับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับนักลงทุนด้วยสภาพคล่องที่สูงขึ้นอีกด้วย
ข้อดีและข้อเสียของ Tokenization
บล็อกเชนนั้นคือการเก็บข้อมูลไว้ในบล็อก และนำมาต่อกันเป็นห่วงโซ่หรือเชน ด้วยการเข้ารหัส โดยที่ในแต่ละบล็อกนั้นจะมีข้อมูลเฉพาะตัว พร้อมด้วยการระบุเวลา Proof-of-Work และข้อมูลของธุรกรรม ซึ่ง Tokenization นี่เองก็ใช้ประโยชน์จากการเก็บข้อมูลอย่างปลอดภัยบนบล็อกเชน
ข้อดีของ Tokenization
- เพิ่มสภาพคล่องให้กับสินทรัพย์ เนื่องจาก Tokenization ช่วยให้เราโอนถ่ายความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์ได้ง่ายขึ้น และยังช่วยให้เราสามารถพัฒนาตลาดรองเพื่อเป็นอีกหนึ่งตลาดในการซื้อขายสินทรัพย์ได้อีกด้วย
- ช่วยให้เราทำธุรกรรมต่างๆ ได้รวดเร็วขึ้น ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง ด้วยการใช้ Smart Contract
- เพิ่มความโปร่งใสให้กับการทำธุรกรรม เนื่องจากทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลของธุรกรรมนั้นๆ ได้ เช่น ดูว่าผู้ซื้อสินทรัพย์ของเราเป็นใคร และใครเป็นเจ้าของสินทรัพย์นั้นในอดีต
- ช่วยให้ทุกคนสามารถเข้าถึงสินทรัพย์ได้ นักลงทุนทั่วไปในตลาดสามารถเข้าถึงสินทรัพย์และการลงทุนได้ง่ายดายกว่าที่เคย
แน่นอนว่าไม่มีเทคโนโลยีไหนที่จะดีไปทั้งหมด Tokenization ก็มีข้อจำกัดเช่นกัน
ข้อจำกัดของ Tokenization
- ข้อจำกัดทางกฎหมายในแต่ละประเทศ แม้ว่าบล็อกเชนจะเป็นแพลตฟอร์มแบบกระจายศูนย์ แต่การให้บริการกับคนทั่วโลกหมายความว่าผู้ให้บริการก็ต้องทำตามกฎหมายของแต่ละประเทศที่แตกต่างกันไปด้วย
- ความเสี่ยงที่จะโดนเทคโนโลยีใหม่มาแทนที่ เนื่องจากเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นเสมอ และอาจจะมีสิ่งที่มาทำหน้าที่แบบเดียวกันได้ดีกว่า จนมูลค่าของโทเคนลดลงได้
แม้ว่า Tokenization จะมีข้อจำกัดอยู่ แต่เราก็เห็นแล้วว่าเทคโนโลยีนี้ได้เข้ามาช่วยทำให้นักลงทุนทั่วไป ได้เข้าใกล้โลกของบล็อกเชนขึ้นอีกนิด เรายังเชื่ออีกว่า Tokenization มีศักยภาพสูงที่จะช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงินมีต้นทุนถูกลง และคนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ด้วยการสร้างสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องมากมาย
การเริ่มรับเทคโนโลยีของนักลงทุนสถาบัน
เทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างโทเคนและบล็อกเชน ทำให้ตัวกลางในการทำธุรกรรมไม่ใช่เรื่องจำเป็นอีกต่อไป โดยเราสามารถใช้การประมวลผลธุรกรรมด้วย Algorithm แทน จนเราสามารถโอนเงินระหว่างประเทศได้โดยไม่จำเป็นต้องมีตัวกลางอย่างธนาคารด้วยซ้ำ อำนาจในโลกของเราจึงได้ถูกถ่ายทอดจากองค์กรใหญ่ๆ มาอยู่ในมือของคนทั่วไปมากขึ้น นี่ทำให้เกิดเป็นคำถามใหญ่ในโลกของสถาบัน ว่าสมควรจะลงทุนกับเทคโนโลยีที่จะมากระทบกับธุรกิจของตัวเองดี? หรือว่าจะปล่อยไปไม่ทำอะไรแล้วยอมรับความเสี่ยงในการถูกทิ้งไว้ข้างหลังดี
แต่ใช่ว่าสถาบันจะมีเวลาในการตัดสินใจนาน โลกของเศรษฐศาสตร์เชื่อกันว่าผู้บริโภคจะมองหาวิธีในการรับผลตอบแทนให้มากขึ้น ในความเสี่ยงที่ต่ำที่สุดเสมอ และผู้ที่สามารถเข้ามาใช้โอกาสจากเทคโนโลยี แลัวปรับตัวได้อย่างรวดเร็วกว่านั้น ก็จะมีโอกาสที่ธุรกิจจะเติบโตต่อไปได้มากกว่า โดยเฉพาะการเริ่มใช้ Tokenization ที่วันนี้ได้เป็นเทคโนโลยีแห่งปัจจุบัน ไม่ใช่แค่อนาคตอีกต่อไป
H3: สถาบันต้องพิจารณาเรื่องอะไรบ้าง ก่อนที่จะเริ่มใช้ tokenization?
สำหรับสถาบันการเงินแล้ว การเริ่มต้นใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนการเลือกซื้อขนมสักชิ้น การตัดสินใจจากสถาบันนั้นมีความซับซ้อน และต้องระมัดระวังมากกว่านักลงทุนทั่วไป จึงต้องพิจารณาปัจจัยเหล่านี้ให้ครบถ้วนก่อน
- ความแตกต่างของกฎหมายในแต่ละประเทศ สถาบันการเงินจะต้องศึกษาและทำตามกฎหมายของทุกประเทศที่มีคนใช้บริการอยู่ ไม่ใช่ทำตามกฎหมายของแค่ประเทศที่สถาบันนั้นจดทะเบียนหรือตั้งอยู่เท่านั้น
- KYC (Know-Your-Customer) หรือการตรวจสอบตัวตนของผู้ให้บริการนั้นเป็นอีกเรื่องที่สถาบันจะต้องปรับเปลี่ยนระบบให้รองรับการทำธุรกรรมบนดิจิทัล
- ความปลอดภัย ในการจัดการกระเป๋าโทเคน และ Private Key เป็นอีกเรื่องที่ต้องพิจารณาเนื่องจากสถาบันจะต้องมีหน้าที่ดูแลบล็อกเชนทั้งเครือข่าย
- โมเดลทางธุรกิจและการร่วมมือกับพันธมิตร เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ห้ามนึกถึง เนื่องจากสถาบันเองมีข้อมูลและความเชี่ยวชาญในโลกการเงินและธุรกรรมทางการเงินอยู่แล้ว ทำให้สามารถนำมาใช้กับเทคโนโลยีอย่างบล็อกเชน หรือ Smart Contract ได้ ถ้ามีโครงสร้างหรือโมเดลที่ทำงานร่วมกันได้อย่างเหมาะสม
การที่คนทั่วไปจะใช้เทคโนโลยีอย่าง Tokenization และ Blockchain ได้อย่างแพร่หลายนั้น ต้องอาศัยการปรับใช้เทคโนโลยีเข้าไปทั้งระบบ แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Tokenization จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับธุรกิจได้อย่างมาก ด้วยการทำธุรกรรมที่มีความโปร่งใสมากขึ้น สภาพคล่องดีขึ้น และเข้าถึงได้อย่างง่ายดายกว่าที่เคย
โทเคน กับ เหรียญ ต่างกันอย่างไร?
โทเคนกับเหรียญฟังดูคล้ายกัน และถูกใช้แทนกันอยู่บ่อยครั้ง แต่ข้อแตกต่างที่สำคัญคือ Coin หรือเหรียญจะมีบล็อกเชนเป็นของตัวเอง ในขณะที่โทเคนนั้นจะทำงานบนบล็อกเชนอื่น เช่น Ethereum, NEO หรือ Waves.
โทเคนของสกุลเงินดิจิทัล = เหรียญ
Bitcoin (BTC), Ethereum (ETH) และ C8 Plus (C8P) เป็นตัวอย่างของเหรียญที่มีบล็อกเชนเป็นของตัวเอง เช่น BTC ทำงานบน Bitcoin blockchain, Ether ใช้ Ethereum blockchain และ C8P ใช้ ERC-20 โดย ERC-20 เป็นหนึ่งในมาตรฐานสำหรับ smart contracts อื่นๆ บน Ethereum blockchain และเรานิยมใช้เพื่อสร้าง Stablecoin
Tokenization และ Stablecoins
ในตอนแรกของรายการ Current Waves by Zipmex เราได้พูดคุยกับ “คุณแม็กซ์” ธีระชาติ ก่อตระกูล, Chief Executive Officer และ Co-Founder ของ Carboneum และ StockRadars โดยเราได้มีการพูดถึงเรื่อง Tokenization ที่จะมาเป็นสะพานระหว่างโลกของ CeFi และ DeFi ซึ่งคุณแม็กซ์มองว่าคนไม่ได้สนใจใน DeFi เพราะว่าตัวเทคโนโลยีเอง แต่สนใจในโอกาสการทำกำไรในสินทรัพย์ที่มีการเติบโตมากกว่า
C8P เพิ่มโอกาสการลงทุนใน DeFi
C8P นั้นเป็นตัวอย่างที่ดีในการลงทุนใน DeFi โดยการถือ DeFi อย่าง C8P ทำให้นักลงทุนสามารถก้าวเข้าสู่โลกของ DeFi ได้ โดยตัวดึงดูดที่แท้จริงคือผลตอบแทนและประโยชน์ที่จะได้รับ ซึ่งทีม C8P ต้องการจะสร้างโลกการลงทุนที่เป็นประชาธิปไตยแบบที่ทุกคนเข้าถึงได้ ไม่ว่าคุณจะลงทุนด้วยเงิน 1 บาท หรือ 1,000 บาท ก็จะได้รับผลตอบแทนอย่างเท่าเทียมกัน เป้าหมายของ C8P คือการเป็นสินทรัพย์ทางเลือกในการลงทุน เช่นเดียวกับที่ Carboneum เป็นแพลตฟอร์ม Social Trading ลองเทรด C8P ได้แล้ววันนี้ที่ Zipmex
สินทรัพย์ทางเลือกในการลงทุนแบบนี้ทำให้นักลงทุนทั่วไปสามารถเข้าถึงโลกของสินทรัพย์ดิจิทัลได้ง่ายขึ้น จนทำให้สกุลเงินดิจิทัลและ DeFi มามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ซึ่งสร้างแรงกดดันให้กับการลงทุนแบบเดิมๆ ที่โลกของเราคุ้นเคย จนองค์กรต่างๆ ในหลายประเทศต่างก็ต้องหันมาสนใจและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลงนี้
Tokenization เกิดขึ้นจริงเรียบร้อยแล้ว
Asset tokenization ได้สร้างแรงกระเพื่อมให้กับโลกการเงินด้วยความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่เราอาจจะไม่เคยนึกถึงมาก่อน อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีนี้ยังเพิ่งเริ่มต้นและต้องใช้เวลากว่าคนทั่วไปจะหันมาเริ่มใช้กันอย่างจริงจัง โดยหัวใจของ Tokenization ก็คือการพัฒนาระบบเดิม ๆ ที่เรามีและคุ้นเคยกันอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้เกิดการยอมรับและใช้งานอย่างกว้างขวางจนธุรกิจและองค์กรต้องหันมาสนใจและเริ่มใช้เทคโนโลยีนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าอาจจะใช้เวลาหลายปีกว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นจริง แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Asset tokenization จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงสภาพคล่องของสินทรัพย์และโลกการเงินไปตลอดกาล