กฎการลิสต์สินทรัพย์ดิจิทัล
โครงการจะต้องผ่านข้อกำหนดทั้ง 5 ข้อเพื่อผ่านเข้าไปพิจารณาร่วมรายชื่อ:
- มี Whitepaper หรือไม่?
- มีการจดทะเบียนบริษัทอย่างถูกต้องหรือไม่ ?
- มีซอร์สโค้ดหรือ MVP หรือไม่?
- อยู่บน blockchain หรือไม่?
- โครงการหรือผู้ก่อตั้งมีส่วนร่วมในขบวนการหลอกลวงหรือไม่?
กฎการลิสต์สินทรัพย์ดิจิทัลของซิปเม็กซ์ (7หมวด)
- โมเดล – ตรวจเช็คว่าโมเดลทางธุรกิจสมเหตุสมผล
- กระบวนการ – ตรวจสอบว่าเทคโนโลยีสามารถทำงานได้จริง
- การบริหาร – ตรวจเช็คว่าทีมมีความสามารถและน่าเชื่อถือ
- สภาพตลาด – ตลาดที่กำลังทำธุรกิจอยู่จะมีศักยภาพมากแค่ไหน
- แรงผลักดัน – สินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าวมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ Blockchain หรือไม่จากมุมมองทางเศรษฐศาตร์
- โมเมนตัม – มีผู้ให้ความสนใจ หรือมีแนวโน้มที่ดีในอนาคตมากเพียงใด
- การเงิน – ฐานะการเงินเป็นอย่างไร
หมวดที่ 1: โมเดลทางธุรกิจ
- ธุรกิจ: มีการดำเนินธุรกิจมาก่อนหรือไม่ หรือมีแผนการขายกิจการในอนาคตอย่างไร
- คอนเส็ป: การทดสอบ concept ของสินทรัพย์ดิจิทัลมีความชัดเจน และสามารถเข้าใจได้
- ความจำเป็น : สินทรัพย์ดิจิทัลนี้มีความจำเป็น หรือแก้ปัญหาให้ผู้คนในวงกว้างหรือไม่
- คุณประโยชน์: สินทรัพย์ดิจิทัลนี้มีคุณประโยชน์ที่ชัดเจนต่อนักลงทุนหรือไม่
- วิสัยทัศน์: มีวิสัยทัศน์ที่ก้าวล้ำกว่าบริษัทอื่นในปัจจุบันที่ตรงกับเทรนด์หรือไม่
- ความเป็นไปได้: โครงการมีความเป็นไปได้มากน้อยอย่างไร
- ความเป็นไปได้: แผนงานมีความเป็นไปได้มากน้อยอย่างไร
- หนังสือชี้ชวน – หนังสือชี้ชวนอธิบายเหตุผลความจำเป็นของการกระจายศุนย์ (Decentralized) และแสดงเป้าหมายของโครงการจากมุมมองทางธุรกิจและเทคโนโลยีหรือไม่
หมวดที่ 2: กระบวนการ
- คุณสมบัติ: การใช้ blockchain เป็นองค์ประกอบที่จำเป็นอย่างแท้จริงของโครงการหรือไม่
- ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ – มีการพัฒนาไปมากเพียงใด มีการทดสอบหรือไม่
- ตัวอย่าง – Source Code มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องหรือไม่
- Prototype – สามารถใช้งานได้หรือไม่
- สิทธิการเข้าถึงที่เท่าเทียมกัน- เป็นเทคโนโลยีที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ผ่านสมาร์ทโฟน
- การกระจายอำนาจ – มีการกระจายอำนาจจริงหรือไม่ หรือมีแผนการที่จะไปถึงจุดกระจายอำนาจได้อย่างไร
- Innovation – ผลิตภัณฑ์ innovate แตกต่างจากผลิตภัณฑ์อื่นๆในตลาดอย่างไร และมีส่วนช่วยในระบบ Blockchain อย่างไร
- ความปลอดภัย – ทีมงานมีความกระตือรือร้นในการปรับปรุงแก้ไขหรือไม่
หมวดที่ 3: การบริหาร
- ผู้ก่อตั้ง- มีวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ แผนการในการใช้งานได้จริง และสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้หรือไม่
- ผู้ก่อตั้ง- มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง
- ผู้ก่อตั้ง-มีความหลากหลายในความสามารถหรือไม่
- ที่ปรึกษา-มีที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์และมีชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือหรือไม่
- มีการมอบอำนาจ-ผู้บริหารมีความรับผิดชอบและมีการมอบอำนาจจริงหรือไม่ และจะไปถึงจุดที่สามารถกระจายอำนาจอย่างแท้จริงได้อย่างไร
- Connection- ผู้ก่อตั้งมีชื่อเสียงที่ดี และรู้จักคนอย่างทั่วถึงในระบบ Eco System หรือไม่
- Connection- มีคนในทีมงานที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่
- ทักษะ-ผู้ก่อตั้งมีทักษะครอบคลุมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเทคโนโลยี การตลาด
หมวดที่ 4: สภาพตลาด
- ศัพยภาพของตลาด – ตลาดมีขนาดใหญ่ หรือมีการเจริญเติบโตที่ดีหรือไม่
- การหมุนเวียน – ปริมาณสินทรัพย์ดิจิทัลมีจำกัดหรือไม่
- การแข่งขัน – มีคู่แข่งสำคัญที่มีลักษณะคล้ายกัน
- จุดเด่น – ทีมงานสามารถบรรยายจุดเด่นของธุรกิจได้หรือไม่ (ด้วยคุณลักษณะต่างๆ เช่น IP, Network Effect, แบรนด์)
- สภาพคล่อง – สินทรัพย์นั้นมีสภาพคล่องมากน้อยแค่ไหน
- ลักษณะทางภูมิศาสตร์ – สินทรัพย์นั้นถูกประกาศแจกจ่ายมากกว่า 1 ประเทศหรือไม่
หมวดที่ 5: แรงขับเคลื่อนทางเศรษฐศาสตร์
- บล็อกเชน – โครงการได้รับประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนหรือไม่ (เช่น การลดบทบาทของบุคคลที่สาม มีการใช้ประโยชน์จากการไม่สามารถแก้ไขได้ มีการ Automate ผ่านระบบสัญญาอัจฉริยะ smart contract เป็นต้น)
- การใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ดิจิทัล – Ecosystem ได้รับประโยชน์จากการมีสินทรัพย์ดังกล่าว
- แรงจูงใจ – การเติบโตของสินทรัพย์ดิจิทัลมีแรงจูงใจให้เจริญเติบโตหรือ network effect หรือไม่
- เศรษฐกิจของสินทรัพย์ดิจิทัล –แรงกระตุ้นหรือแรงจูงใจให้เติบโตเกินกว่าขอบเขตของ Exchange
- อัตราการเฟ้อ – มีโปรแกรมจัดการอัตราการเฟ้อของสินทรัพย์ดิจิทัลหรือไม่
- ความเท่าเทียม –การแจกจ่ายมีความเป็นธรรม
หมวดที่ 6: โมเมนตัม
- สื่อ – มีการพูดถึงที่เป็นประโยชน์บนสื่อต่างๆ
- แผนการดำเนินการ – มีแผนการดำเนินการที่ท้าทายและเป็นไปได้
- ความร่วมมือ – คู่ค้าหรือพาร์ทเนอร์มีการทำงานกับสินทรัพย์ดิจิทัลนี้อย่างไร
- ความคืบหน้า – มีตัวอย่างที่ถูกทดสอบแล้ว และมีผลตอบรับเชิงบวกจากผู้ทดลองหรือไม่
- ลูกค้า – มีฐานลูกค้าใหญ่เพียงใด
หมวดที่ 7: การเงิน (เฉพาะแค่โทเคน)
- การประเมินมูลค่า – มีการประเมินมูลค่าที่สมเหตุสมผล
- ภาระหนี้สิน – มีหนี้สินที่ติดค้างหรือไม่
- สภาพคล่อง – มีเงินทุนพอที่จะครอบคลุมการดำเนินโครงการ แต่ไม่สูงจนเกินไป
- การแจกจ่ายสินทรัพย์ดิจิทัล – มีการแจกจ่ายสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างสมเหตุสมผล (เช่น ไม่มีธนาคารกลางที่กักตุนไว้)
- การลดราคาเสนอ – การลดราคามีความสมเหตุสมผลต่อความเสี่ยงของการระดมทุนรอบนี้และรอบก่อนหน้า
- การนำขึ้นศูนย์ซื้อขาย – มีการเตรียมนำขึ้นศูนย์ซื้อขายอื่นๆด้วยหรือไม่
หมายเหตุ: กฎการลิสต์สินทรัพย์ดิจิทัลนั้นไม่ได้เป็นที่สิ้นสุด และอาจมีการปรับปรุงตลอดเวลาเพื่อสะท้อนการพัฒนาทางเทคโนโลยี หลังจากได้รับการอนุญาตจากสำนักงาน กลต.
เกณฑ์การถอดสินทรัพย์ดิจิทัลออก
การถอดถอนสินทรัพย์ดิจิทัลจะถูกตัดสินใจโดยคณะกรรมการบริหาร โดยพิจารณาจากเกณฑ์ต่อไปนี้
จะมีการถอดสินทรัพย์ดิจิทัลหากหนึ่งในเหตุการณ์ใดต่อไปนี้เกิดขึ้น
- เกิดการกระทำผิดโดยบริษัท เช่น นำเงินระดมทุนไปใช้ไม่ถูกต้อง มีการยักยอกเงินทุน ผู้บริหารทีมกระทำความผิดทสงอาญา
- มีลักษณะที่อาจเข้าข่ายที่มีสภาวะการซื้อขายผิดปกติ เช่น การปั่นตลลาด
- โครงการมีการดำเนินงานเบี่ยงเบนไปจากที่แจ้งไว้ในหนังสือชี้ชวนเป็นระยะเวลามากกว่าหนึ่งปี
- มีมูลค่าการแลกเปลี่ยนซื้อขายน้อยกว่า 300,000 เหรียณสหรัฐในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
- มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในซอร์สโค้ด (source code) หรือการแจกจ่ายสินทรัพย์ดิจิทัลเช่น มีการเพิ่มจำนวนอย่างกระทันหัน
หมายเหตุ: เกณฑ์การถอดสินทรัพย์ดิจิทัลอาจจะถูกปรับปรุงเพิ่มเติมได้เพื่อปรับให้เข้ารับกับเทคโนโลยีหรือสภาพตลาดหลังจากที่ได้รับอนุญาตจาก กลต
กระบวนการการถอดสินทรัพย์ดิจิทัล
- Zipmex จะแจ้งลูกค้าผ่านเว็บไซต์และอีเมลภายใน 7 วัน ก่อนการถอดสินทรัพย์ดิจิทัล
- จะอนุญาตให้ลูกค้าถอนสินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าวออกจากแพลตฟอร์มได้ 30 วันหลังจากการถอดสินทรัพย์ดิจิทัล
- หลังจาก 30 วันแล้ว ลูกค้าจะต้องติดต่อ [email protected] เพื่อทำการถอน