กฎการซื้อขาย

กฎเกณฑ์การชำระราคาและการส่งมอบ การจัดการคำสั่งซื้อขายและประเภทคำสั่งซื้อขาย

ซิปเม็กซ์ใช้ระบบจับคู่คำสั่ง(OMS) เพื่อจับคู่คำสั่งซื้อ หรือ Bid กับคำสั่งขายหรือ Ask เพื่อดำเนินการซื้อขาย เมื่อมีคำสั่งซื้อขายผ่านเข้ามาในระบบซื้อขายแล้ว ระบบซื้อขายจะตรวจสอบว่าคำสั่งนั้นสามารถจับคู่กับคำสั่งด้านตรงข้ามได้ทันทีหรือไม่ ถ้าคำสั่งนั้นสามารถจับคู่ได้ทันทีระบบจะทำการจับคู่ให้ แต่ถ้าคำสั่งนั้นไม่สามารถจับคู่ได้ ระบบจะจัดเรียงคำสั่งซื้อขายนั้นโดยใช้ระบบ First-in-first-out (FIFO) ตามหลักการ Price then Time Priority โดยมีหลักการคือ คำสั่งซื้อที่มีราคาเสนอซื้อสูงที่สุดจะถูกจัดเรียงไว้ในลำดับที่หนึ่ง และถ้ามีราคาเสนอซื้อที่สูงกว่าถูกส่งเข้ามาใหม่ จะจัดเรียง ราคาเสนอซื้อที่สูงกว่าเป็นการเสนอซื้อในลำดับแรกก่อนและถ้ามีการเสนอซื้อในราคาเดียวกันที่มากกว่าหนึ่งรายการ ให้จัดเรียงการเสนอเหล่านั้นตามเวลาที่ถูกนำเสนอ

การเสนอซื้อที่ปรากฏในระบบการซื้อขายก่อนจะถูกจัดไว้เป็นการเสนอซื้อในลำดับก่อน ส่วนคำสั่งขายที่มีราคาเสนอขายต่ำที่สุดจะถูกจัดเรียงไว้ในลำดับที่หนึ่ง และหากมีราคาเสนอขายที่ต่ำกว่าถูกส่งเข้ามาใหม่จะจัดเรียงราคาเสนอขายที่ต่ำกว่า เป็นการเสนอขายในลำดับแรกก่อนละถ้ามีการเสนอขายในแต่ละราคามากกว่าหนึ่งรายการให้จัดเรียงตามเวลา โดยการเสนอขายที่ปรากฏในระบบการซื้อขาย ก่อนจะถูกจัดไว้เป็นการเสนอขายในลำดับก่อน

เพื่ออำนวยความสะดวกและรักษาผลประโยชน์ของลูกค้าซิปเม็กซ์ เราให้บริการในการซื้อขาย 24/7 คือ 24 ชั่วโมง 7 วัน ลูกค้าสามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มการซื้อขายได้ทุกที่ ทุกเวลาที่ต้องการ แต่อาจจะมีในบางกรณีที่จำเป็นต้องมีการปรับปรุงระบบเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับแพลตฟอร์ม

ข้อดีของระบบการซื้อขายที่ลูกค้าได้รับ

  1. ซื้อขายสินทรัพย์ได้ทุกที่ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสะดวกและเพิ่มโอกาสในการลงทุนของคุณ
  2. การชำระราคาแบบเรียลไทม์
  3. สามารถซื้อขายได้หลายสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างรวดเร็วตามที่คุณต้องการ

หน้าต่างแพลตฟอร์มการซื้อขาย

แพลตฟอร์มการซื้อขายที่ทันสมัยพร้อมข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่หลากหลาย

Trading UI – รูปแบบของแพลตฟอร์มที่ทันสมัยประกอบกับข้อมูลในการตัดสินใจสำหรับนักลงทุนที่เพียงพอ ประกอบไปด้วย

  • Order Management
  • Trade Reporting
  • Quote Management
  • Click-to-Trade
  • Real-Time Balance Updates
  • Market Data
This image has an empty alt attribute; its file name is tading-rules-1.png
ตัวอย่างหน้าต่างแพลตฟอร์มการซื้อขาย

ประเภทคำสั่งซื้อขาย

Market Order คืออะไร?
Market Order เกิดขึ้นเมื่อคุณต้องการทำคำสั่งซื้อหรือขายสินทรัพย์ในราคาตลาด ตัวอย่างเช่น คุณต้องการซื้อสินทรัพย์ดิจิทัลทันที ไม่ต้องการต่อรองราคา เพียงคุณเลือก Market Order คำสั่งซื้อของคุณจะทำการจับคู่คำสั่งทันทีกับ Order ที่มีคนเสนอขาย ณ ราคาที่ถูกที่สุด หรือ Ask Price ที่ราคาถูกที่สุด ซึ่งคุณจะต้องระมัดระมัดในการส่งคำสั่งประเภทนี้ สาเหตุเพราะหากคุณต้องการซื้อในจำนวนมากด้วย Market Order แต่ Ask Price แต่ละราคามีปริมาณน้อย รายการซื้อของคุณจะทำการซื้อใน “ทุกราคา” จนกว่าจะครบจำนวนที่คุณต้องการ

ข้อดีของ Market Orders
การใช้ Market Order หมายความว่า คุณสามารถเทรดสินทรัพย์ได้ทันทีโดยไม่ต้องรอราคาที่แน่นอนเหมือนกับ Limit Order นั่นจึงทำให้คุณสามารถเทรดได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ราคาที่ดีที่สุดในขณะนั้น

ข้อเสียของ Market Orders
หนึ่งในข้อเสียของ Market Orders คือ การเกิด Slippage โดย Investopedia ให้คำนิยามไว้ว่า
Slippage หรือ สลิปเพจ หมายถึง ความแตกต่างระหว่างราคาที่คาดหวังของการเทรด และ ราคาที่เกิดขึ้นเมื่อได้ซื้อขายจริง โดย Slippage สามารถเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ แต่จะเกิดขึ้นบ่อยที่สุดเมื่อมีความผันผวนสูงขึ้นจากการใช้ Market Order นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อมีคำสั่งซื้อขายจำนวนมาก แต่ปริมาณสินทรัพย์ในราคา Ask Price แต่ละราคาที่ผู้ขายตั้งคำสั่งเข้ามามีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้รายการแบบ Market Order ของคุณจะทำการไล่ซื้อในทุกราคาที่มีจนกว่าจะครบจำนวนที่คุณต้องการ

ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณซื้อ 1 บิทคอยน์ในราคาตลาดปัจจุบันที่ 130,553 บาท ถ้าใน Order Book มีการเสนอขายรออยู่จำนวน 0.2 บิทคอยน์ ตามราคาตลาดที่ 130,553 บาท คุณจะสามารถซื้อ 0.2 บิทคอยน์นี้ได้ทันที  ไม่เพียงเท่านั้น สำหรับ 0.8 บิทคอยน์ที่คุณต้องการ ด้วยคำสั่งแบบ Market Order นี้จะทำการซื้อในทุก ๆ Ask Price ที่มีผู้ขายมาตั้งคำสั่งรอขายเอาไว้ จนกว่าจะครบจำนวน 0.8 บิทคอยน์ นั่นแปลว่าราคาที่คุณซื้ออาจจะสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่จำกัดหากว่าศูนย์ซื้อขายสินทรัพยืดิจิทัลแห่งนั้นมีสภาพคล่องน้อย และนี่คือความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของการส่งคำสั่งรูปแบบนี้

Limit Order คืออะไร?
Limit Order จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคุณทำคำสั่งซื้อหรือขายสินทรัพย์ของคุณในราคาที่กำหนดเอง โดยทั่วไปแล้ว Limit Order ใช้เพื่อทำการเทรดในราคาที่คุณพึงพอใจมากกว่าราคาตลาดในปัจจุบัน ฟังก์ชั่นนี้สามารถช่วยให้คุณกำหนดมูลค่าของสินทรัพย์ต่ำสุดที่คุณเต็มใจที่จะขาย หรือราคาสูงสุดที่คุณพร้อมจะซื้อสินทรัพย์ดิจิทัลในการเทรด

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าตอนนี้บิทคอยน์ราคาอยู่ที่ 190,000 บาท แต่คุณต้องการซื้อเมื่อราคาอยู่ที่ 180,000 บาท แทนที่จะนั่งเฝ้าหน้าจอรอให้ราคาลด คุณสามารถทำการสั่งซื้อด้วย Limit Order ในการซื้อบิทคอยน์ได้เลย เพราะฉะนั้น เมื่อราคาถึง 180,000 บาทเมื่อไหร่ คำสั่งซื้อก็สามารถจับคู่ได้ในทันที

ข้อดีของ Limit Orders
นักเทรดจะสามารถกำหนดราคาที่ตัวเองอยากจะซื้อขายได้โดยไม่ต้องเสียเวลาเฝ้าหน้าจอดู Market Price ตลอด ถ้าราคาตลาดลดหรือเพิ่มถึงราคาที่ตัวเองต้องการ การเทรดก็สามารถเกิดขึ้นได้เองอัตโนมัติ Limit Order เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่ช่วยให้คุณบริการความเสี่ยง (Risk Management) เพื่อลดความเสียหายหากราคาในขณะนั้นแกว่งตัวรุนแรง  อีกทั้งนักเทรดยังสามารถหยุดการซื้อขายได้เมื่อราคาซื้อขายในตลาดดิ่งต่ำกว่าราคาตลาดปัจจุบัน

ข้อเสียของ Limit Orders
การใช้ Limit Order นั้นหมายความว่า การซื้อขายอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นเลย ถ้าราคาในตลาดไม่ไปอยู่ในจุดที่คุณตั้งเอาไว้ คุณอาจจะต้องเปิด Open Order เพื่อรอการเทรดเป็นเวลาหลายสัปดาห์โดยที่ไม่แมทช์เลยเพราะราคาตลาดไม่อยู่ในจุดที่คุณกำหนดเอาไว้